เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
คหบดีเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้น
แล้วได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “มาเถิดสุทัตตะ”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีรื่นเริงบันเทิงใจว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกชื่อเรา”
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคประทับอยู่เป็นสุขดีหรือ พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พราหมณ์ผู้ดับกิเลสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ
ผู้ไม่ติดอยู่ในกาม เป็นคนเยือกเย็น
ไม่มีอุปธิกิเลส ตัดกิเลสเครื่องข้องได้ทุกอย่างแล้ว
กำจัดความกระวนกระวายในใจ
เข้าถึงความสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข1
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ
1. ทานกถา (เรื่องทาน)
2. สีลกถา (เรื่องศีล)
3. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
4. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)
5. เนกขัมมานิสังสกถา (อานิสงส์แห่งการออกจากกาม) แก่อนาถ-
บิณฑิกคหบดี
เมื่อทรงทราบว่าท่านอนาถบิณฑิกคหบดีมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์
เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนา2ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 องฺ.ติก. (แปล) 20/35/191
2 สามุกกังสิกธรรมเทศนา หมายถึงธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงเห็น
ด้วยสยัมภูญาณ ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น คือมิได้รับการแนะนำจากผู้อื่น ทรงตรัสรู้ลำพังพระองค์เองก่อนใครใน
โลก (วิ.อ. 3/293/181, สารตฺถ,ฏีกา 3/26/237, ที.สี.ฏีกา อภินว. 2/298/350)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :114 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้
เกิดแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ณ อาสนะนั้นแลว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาด
ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว
หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้
แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์ ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย
ประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้
หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูป พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร เพื่อเจริญกุศลใน
วันพรุ่งนี้ด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วจึง
ลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณกลับไป
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้ทราบข่าวว่า “ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นิมนต์พระ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้”
[306] ครั้งนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ได้กล่าวกับท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า “คหบดี ทราบว่าท่านนิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญ
กุศลในวันพรุ่งนี้ ก็ท่านเป็นอาคันตุกะ ข้าพเจ้าจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของเพื่อจัด
ทำภัตตาหาร ถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :115 }